วันศุกร์ที่ 13 กันยายน พ.ศ. 2556

นกกางเขนดง (อังกฤษwhite-rumped shama)เป็นนกที่อยู่ในวงศ์ Muscicapidae มีความสัมพันธ์อย่างใกล้ชิดกับนกกางเขนบ้าน แตกต่างกันที่นกกางเขนดงจะมีสีสันบริเวณท้องเป็นสีแดงอมน้ำตาลสดใส และมีหางยาวกว่าปีกและลำตัวมาก มีเสียงร้องเพลงไพเราะ ชาวตะวันตกที่เข้าไปในอินเดียและพบนกชนิดนี้เข้าได้เรียกว่านกไนติงเกลแห่งอินเดีย

ลักษณะ

       ลักษณะโดยทั่วไปของนกกางเขนดง จะมีปากหนา ตรง ส่วนปลายของปากบนงุ้มลงเล็กน้อย ความยาวของปากมากกว่าครึ่งของความยาวหัว มีขนแข็ง สั้น ที่มุมปาก มีปีกมนกลม ส่วนขนที่ปลายปีกจะมี 10 เส้น ขนบริเวณหางมี 12 เส้น ขนหางเป็นคู่ซึ่งแต่ละคู่จะยาวลดหลั่นกันไป ขาและนิ้วเท้าใหญ่ มีความแข็งแรง ทำให้สามารถกระโดดได้อย่างคล่องแคล่ว ท่อนล่างของขาเป็นเกล็ดขนาดใหญ่เหมือนปลอกปกคลุมขา ส่วนนิ้วเท้าจะยื่นไปข้างหน้า 3 นิ้ว และยื่นไปข้าง หลัง 1 นิ้ว เหมาะแก่การเกาะกิ่งไม้และการกระโดด มีความยาวจากปลายปากจรดปลายหางประมาณ 28 ซม. โดยหางจะมีความยาวประมาณ15 - 19 ซม. ส่วนนกกางเขนบ้านมีหางยาวประมาณ 9 ซม.

     ตัวผู้ จะมีสีดำ เหลือบน้ำเงิน บริเวณ หัว คอ หน้าอก หลัง ไหล่ รวมทั้งขนคลุมปีก ตัดกับตะโพก ขนคลุมที่โคนหางเป็นสีขาวบริสุทธิ์ จนสามารถเห็นได้อย่างชัดเจน ขนบริเวณกลางปีกมีสีดำด้านๆ ส่วนขนหาง 2 คู่ล่างสุดมีสีขาวปลอดทั้งเส้น ด้านล่างของลำตัวส่วนที่ถัดจากหน้าอกลงมา จนถึงท้องจนถึงขนคลุมใต้โคนหางมีสีน้ำตาลแกมแดง ลักษณะสีโดยรวมของสีคือมีสีตัดกันถึง 3 สี คือ สีดำ ขาว และ น้ำตาลแกมแดง มีม่านตาเป็นสีน้ำตาลเข้ม ปากสีดำสนิท ส่วนขา นิ้วเท้า และ เล็บ มีสีเนื้อจางๆ
  



     ตัวเมีย จะมีหางสั้นกว่าตัวผู้ ขนที่ หัว คอ หน้าอก หลัง เป็นสีเทาคล้ำ บริเวณกระหม่อม และ หลังไหล่ อาจมีเหลือบเป็นมันเล็กน้อย ขนที่กลางปีก ปลายปีก และขนหาง 2 คู่บน มีสีเทาคล้ำๆ ซึ่งจะมีขนหางอยู่ 2 คู่ ที่ถัดลงไปจะมีสีเทาคล้ำครึ่งโคนส่วนครึ่งปลายสีขาว ขนหาง 2 คู่ล่างสุด มีสีขาวปลอดทั้งเส้น สะโพกและขนคลุมบนโคนหางสีขาว ด้านล่างของลำตัวสีส้มอมน้ำตาล ม่านตาสีน้ำตาลเข้ม ขา นิ้วเท้า และ เล็บ มีสีเนื้อจางๆ เหมือตัวผู้





นกกางเขนดง หรือนกบินหลาดง
     เป็นนกที่คนไทยรู้จักกันดี ไม่น้อยหน้า นกกางเขนบ้าน ที่อาศัยอยู่รอบๆ บ้านเรือนของมนุษย์ แต่นกกางเขนดงนั้น อาศัยอยู่ในป่าสมกับชื่อของมัน ซึ่งน้อยคนนักจะได้เห็นในธรรมชาติ เพราะมันเป็นนกที่เปรียว และ ชอบหลบซ่อนตัวอยู่ภายในดงพืชรกทึบเป็นส่วนใหญ่ คนส่วนมากจึงมักเห็นนกชนิดนี้ในกรง มากกว่าในธรรมชาติ เพราะคนหลายคนชอบเลี้ยงนกชนิดนี้ไว้ฟังเสียงร้อง  ซึ่งยกย่องกันว่าไพเราะที่สุด ไพเราะกว่านกกางเขนบ้านเสียอีก นกกางเขนดงมีเชื้อสายใกล้ชิดกับนกกางเขนบ้านมากกว่านกชนิดอื่น และ ถือกันว่าเป็นคู่แฝดของนกกางเขนบ้าน พฤติกรรมต่างๆ ของ นกกางเขนดง ก็ คล้ายคลึงกับนกกางเขนบ้าน แต่ นกกางเขนดงชอบอาศัยอยู่ในป่าดง ห่างไกลจากบ้านเรือนของมนุษย์



       นิสัยประจำพันธุ์ เป็นนกที่หวงถิ่นและสอดรู้สอดเห็น มักหลบหากินอยู่ในดงไผ่ ใต้ต้นไม้ที่ร่มครึ้ม ส่งเสียงร้องให้ได้ยิน อยู่ใกล้ ๆ ไม่บินหนีไปไหน แต่ไม่ค่อยยอมออกมาเกาะในที่โล่งให้เห็นได้ง่าย ๆ มักเกาะกิ่งไม้ไม่สูงนัก หรือใกล้กับพื้นดิน ชอบกระดกหางขึ้นลง ทำให้เราสังเกตเห็นสีขาวที่โคนหางของมันก่อนจะหาตัวพบจากเสียงร้องไม่หยุดปากของมัน นกกางเขนดงเมื่อกระดกหาง หางของมันจะไม่แผ่ออกแบบนกกางเขนบ้าน ตามปกติ เรามักจะเห็นนกชนิดนี้อยู่โดดเดี่ยวตัวเดียว และ นกแต่ละตัวก็มักจะอยู่ห่างๆกัน เพราะมันมีอาณาเขต ในการ หากิน กว้างขวางมาก ถ้าหากนกตัวอื่น บิน พลัดหลงเข้าไปในอาณาเขตของนกตัวอื่น นกเจ้าของอาณาเขตก็มักออกมาขับไล่ เคยมีผู้พบว่า นกกางเขนดง ที่จับคู่กันแล้ว เมื่อมีนกตัวเมียตัวอื่นหลงเข้ามาในอาณาเขต ที่นกทั้งคู่จับจองไว้ นกตัวเมีย และ นกตัวผู้ ทั้งคู่จะออกมาขับไล่นกตัวเมีย ให้หนีไป นกกางเขนดง ไม่ชอบขึ้นไปอาศัยอยู่บนต้นไม้สูงๆ หรือ แม้แต่ระดับกลางต้น แต่จะชอบอาศัยอยู่ในระดับล่าง ของ ลำต้นไม้ ใน บริเวณ ที่รกๆ หรือ ในดงไม้พื้นล่าง นอกจากนี้ ยังไม่ชอบบินไปไหนไกลๆ แต่จะบินเป็นระยะทางใกล้ๆ แต่ ก็บินได้รวดเร็ว ว่องไว และ คล่องแคล่ว นอกจากนี้ ในขณะที่บินผ่านที่โล่งๆ มันมักจะบินสูงขึ้นไปในอากาศ ยกปีกขึ้นสองขึ้นไปบนหลัง จนปีกทั้งสองแตะกันเกิดเสียงดัง ซึ่งมักเห็น พฤติกรรมเช่นนี้ ในช่วงเวลาใดเวลาหนึ่งของวัน แต่มักจะทำบ่อยในฤดูผสมพันธุ์ นกกางเขนดง ชอบส่งเสียงร้องเป็นท่วงทำนองเพลง ในตอนเช้า ตรู่ และ ในตอนพลบค่ำ ซึ่งมันจะร้องไปเรื่อยๆจนพลบค่ำ นกแต่ละตัว จะมีเสียงร้องเป็นท่วงทำนองที่แตกต่างกัน และสามารถเลียนเสียงร้อง ของนก ชนิดอื่นได้ ในต่างประเทศ ซึ่งนิยมซื้อนกกางเขนดงไปเลี้ยง พบว่า นกที่ เลี้ยง ตั้งแต่ยังเล็กมาก ไม่สามารถร้องเสียงเหมือนนกเต็มวัยที่อยู่ในถิ่นเดิมได้ แต่กลับมีเสียงร้องเป็นของตนเอง และเลียนเสียงของนก ที่อยู่รอบๆ กรง ของ มัน และ นกที่นำไปเลี้ยงตามสถานที่ต่างกัน ก็ จะมีเสียงร้องแตกต่างกัน ออกไป ด้วย แสดงว่า นกที่ไม่โตเต็มวัย จะเลียนเสียงร้องจาก พ่อแม่ของมัน เมื่อถูกแยกจากพ่อแม่โดยมนุษย์ นกกางเขนดงเหล่านั้น จะพัฒนาท่วงทำนอง การร้องของมันเอง โดยเลียนจากเสียงนกอื่นที่มันได้ยิน รอบๆตัวมันนั่นเอง แต่ทั้งนี้ก็ยังคงลักษณะเสียงนกกางเขนดงตามพันธุ์ เพียงแต่ท่วงทำนองจะถูกดัดแปลง เป็น ท่วงทำนองเฉพาะของนกแต่ละตัว ไม่ใช่เลียนเสียง นกอื่น แบบที่ นกแซงแซว ชอบทำ แหล่งอาศัยหากิน ป่าไผ่ ป่าดิบแล้ง ป่าดงดิบ ป่าชั้นรอง ป่าผสมผลัดใบ ทั้งหมดนี้จะต้องมีไผ่ปะปนอยู่ด้วยเสมอ และ มีไม้พื้นล่าง รกเรื้อพอสมควร พบตั้งแต่พื้นราบไปจนถึงระดับความสูง 1,525 เมตร จากระดับน้ำทะเล เป็นนกที่ชอบแอบซ่อนตัว

อาหาร นกกางเขนดง ก็ เช่นเดียวกับนกกางเขนบ้าน เลี้ยงชีวิตด้วยแมลง และ หนอน แต่บางครั้ง ก็ จิกกินแม้กระทั่งตะขาบ หรือ สัตว์เลื้อยคลานเล็กๆ มักชอบหากินบนพื้นดินมากกว่าบนต้นไม้ มันจะกระโดด 2 ขา ไปเรื่อยๆ บางทีเร็วจนคล้ายวิ่ง หันมองซ้ายทีขวาที พอเห็นเหยื่อ มันจะหยุดและใช้ปากจิกกิน บางครั้งอาจบินไล่จับแมลงบนต้นไม้ หรือ กลางอากาศ นกชนิดนี้ขยันหากินมาก จะออกหากินตั้งแต่เช้าตรู่ จนกระทั่งพลบค่ำ


แหล่งที่พบเจอ สำหรับประเทศไทย พบบ่อยมากทุกภาคของประเทศไทย ตามป่าดิบเขา ป่าโปร่ง ป่าผสมผลัดใบ ป่าดิบแล้ง ป่าดิบเขา แต่ต้องมี ป่าไผ่ แทรกอยู่ด้วย และ มีไม้พื้นล่าง ค่อนข้างรก ตั้งแต่ที่ราบจนถึง ยอดเขาสูงสุด ส่วนแต่ละท้องที่จะมีชนิดย่อย แยกแตกต่างกันออกไป

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น